วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นอกเรื่อง......ส่งอาจารย์คับ



บทที่ 4 การเขียนโปรแกรมภาษา


1. การเขียนโปรแกรมภาษา


การเขียนโปรแกรม หมายถึง กระบวนการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลและกำหนดขั้นตอนวิธีเพื่อใช้แก้ปัญหาตามที่ได้ออกแบบไว้และอาศัยหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของแต่ละภาษา เช่น ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาจาวา เป็นต้น




2. ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน


1. การวิเคราะห์ปัญหา เป็นขั้นตอนของการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานปัจจุบันเพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหา และกำหนดความต้องการของระบบงานใหม่ ก่อนที่จะตัดสินใจแก้ปัญหาจะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ดังนี้


     - ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค คือ ตรวจสอบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ว่ามีคุณสมบัติเพียงพอกับระบบงานใหม่หรือไม่


     - ความเป็นไปได้ด้านบุคลากร คือ การตรวจสอบว่าในหน่วยงานมีบุคลากรที่มีความสามารถในการใช้งานระบบได้หรือไม่


     - ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ คือ ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่าหรือไม่


2. การออกแบบโปรแกรม เป็นการนำผลที่จากการวิเคราะห์มาอออกแบบโปรแกรมโดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ ผังงาน(flowchart)และรหัสจำลอง(pseudo Code)


3. การเขียนโปรแกรม เป็นการนำผลที่ได้จาการออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานหรือรหัสจำลองมาแปลงคำสั่งของโปรแกรมในภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อนำไปประมวลผลข้อมูลและได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมต่อไป


4. การทดสอบโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของการทำงาน และตรวจสอบไวยากรณ์องภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม โดยทั่วไปข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมมี 3 ชนิด


     - ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์


     - ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะรันโปรแกรม


     - ข้อผิดพลาดทางตรรกะ


5. การจัดทำเอกสารประกอบ หมายถึง การเตรียมเอกสารอธิบายโปรแกรม โดยทั่วไปเอกสารมีการจัดทำอยู่ 2 ประเภท คือ คู่มือผู้ใช้จะอธิบาย เกี่ยวกับวิธีการใช้โปรแกรมและคู่มือนักเขียนโปรแกรมเมอร์จะมีรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับโปรแกรมรวมทั้งผังงานโปรแกรม



3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป


     ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์และมี Anders Hejlsberg เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยปัจจุบันภาษาซีซาร์ปเป็นภาษามาตรฐานรองรับโดย ECMA และ ISO


1. โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2008 พัฒนาขึนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ โดยมีระบบที่รองรับการทำงาน คือ ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ พ็อคเกพีซี Smartphone


2. หลักเขียนโปแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Event Driven Programming (EDP) คือ การเขียนค่ำสั่งกำหนดให้โปรแกรมทำงานในสิ่งที่ต้องการตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นว่ามีแนงความคิดสอดคล้องกับแนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบObject Oriented Programming (OOP)


3. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยภาษาซีชาร์ป
    
- วิเคราะห์และออกแบบการทำงานของโปรแกรม
    
- นำคอนโทรลมาวางบนฟอร์ม
    
- ปรับแต่งคุณสมบัติของคอนโทรล
    
- เขียนโค้ด
    
- ทดสอบการทำงานของโปรแกรม
    
- บันทึกแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้น



4. ตัวดำเนินการและนิพจน์โปแกรม Microsoft Visual Studio


1. ตัวดำเนินการ คือ สัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างนิพจน์


- Arithmetic operator คำนวณทางคณิตศาสตร์
    
- Comparison operator เปรียบเทียบ
    
- Logical operator คำนวณทางตรรกศาสตร์
    
- Assignment operator กำหนดค่าให้กับ operator
    
- Bitwise operator จัดการข้อมูลในระดับบิต
    
- String concatenation เชื่อม string 2 ตัวเข้าด้วยกัน
    
- Increment and decrement ใช้เพิ่มค่าและลดค่า


2. นิพจน์ คือ ส่วนของโปรแกรมที่สามารถถูกตีความเป็นค่าต่างๆได้ ซึ่งเป็นการนำตัวแปรหรือค่าคงที่มาสัมพันธ์กันโดยใช้เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวเชื่อม


สรุป การเขียนโปรแกรมภาษาเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเมื่อมีการเขียนโปรแกรมขึ้นมาแล้วจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมว่าสามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่และยังต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมมีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างเป็นลำดับ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม และการจัดทำเอกสารประกอบ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนที่ 2

รับน้องขึ้นดอย

รับน้องขึ้นดอย เป็นกิจกรรมรับน้องใหม่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อให้รุ่นพี่และรุ่นน้องในมหาวิทยาลัยเดินทางร่วมกัน จากศาลาธรรมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นไปถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 14 กม.

กิจกรรม

นักศึกษาแต่ละคณะจะแต่งชุดประจำคณะแตกต่างกันไป อาจเป็นชุดพื้นเมืองภาคเหนือ หรือเป็นชุดประจำคณะก็ได้ โดยของที่จะนำขึ้นไปนมัสการพระธาตุก็จะนำมาประกอบในขบวน แต่ละคณะจะ ตั้งคณะต่อๆกัน โดยมีการกำหนดลำดับของคณะ ไม่เหมือนกันในแต่ละปี เมื่อตั้งขบวนดีแล้ว ก็ทยอยเดินขึ้นไปยังดอยสุเทพ โดยหยุดพักนมัสการอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยที่เชิงดอยสุเทพกันก่อน จากนั้นเริ่มต้นเดินขบวนต่อ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จะรับผิดชอบนำเสลี่ยงของมหาวิทยาลัยฯไปนมัสการบนพระธาตุ
ซึ่งความสนุกสนานส่วนหนึ่งของการขึ้นดอย จะอยู่ที่จะมีการแซงกันในบางครั้ง ทำให้ได้เห็นและทักทายเพื่อนๆ คณะอื่นๆ โดยในระหว่างทางจะหยุดพักบริเวณศูนย์ป้องกันไฟป่าหนึ่งครั้ง และหยุดพักอีกครั้งเมื่อถึงบริเวณพระธาตุฯ
และที่เป็นจุดสำคัญของกิจกรรมนี้ในทุกๆคณะคือ การวิ่งขึ้นโค้งสปีริต ที่ทุกคณะ ไม่ว่าจะเดินขึ้น วิ่งขึ้น หรือนั่งรถขึ้น ก็จะขอมาวิ่งในโค้งนี้ โดยแท้จริงแล้ว โค้งสปีริต ก็คือโค้งขุนกัณฑ์ฯ โค้งสุดท้ายก่อนถึงดอยสุเทพนั่นเอง
นักศึกษาบางคณะที่มีผู้ชายมาก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะเกษตรศาสตร์ นิยมให้วิ่งขึ้นขณะที่คณะอื่นๆ มีทั้งเดินบ้างวิ่งบ้าง เมื่อขึ้นไปถึงพระธาตุดอยสุเทพ ก็จะทยอยเข้าไปนมัสการองค์พระธาตุ แล้วพักผ่อน รับประทานอาหาร มีกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ร่วมกัน จากนั้นจึงเดินทางกลับลงมาบางคณะอาจวิ่งขึ้นแล้วเดินลง บางคณะอาจวิ่งขึ้นและวิ่งลง แล้วแต่รุ่นพี่ในแต่ละคณะจะกำหนด

เทียวมหาลัยในฝัน ตอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ มช.


     มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ขนาบข้างด้วยถนนห้วยแก้ว และถนนสุเทพ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 ก.ม. และมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่เศษ เปิด
ทำการสอน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2507
ปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคขึ้นแต่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 การดำเนินงานจึงชะงักลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 รัฐบาลชุดจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาว่า "จะดำเนินการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูง" พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ม.ล.ปิ่น มาลากุล) เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นว่า "น่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่" พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกชื่อมหาวิทยาลัยนี้ว่า "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2508

 
ในระยะเริ่มต้นได้เปิดดำเนินการสอนเพียง 3 คณะ ที่เป็นรากฐานของทุกสาขาวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้รับโอนกิจการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มาเป็นคณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีเดียวกันนี้เอง ได้เริ่มจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นอีกคณะหนึ่ง ในปีการศึกษา 2511 ได้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ และในปีการศึกษา 2513 ได้จัดตั้งคณะใหม่อีก คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 จึงได้จัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะคือ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีคณะทั้งหมดด้วยกัน 21 คณะ โดยในปี พ.ศ. 2518 ได้จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้น และตั้งบัณฑิตวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นหน่วยประสานงานด้านการเรียนการสอนและมาตรฐานหลักสูตรขั้นบัณฑิตศึกษามีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งแต่การดำเนินงานด้าน การสอนและการวิจัยซึ่งกระทำโดยคณาจารย์ของคณะ และได้มีการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2525 เปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2526 ในปี 2536 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มขึ้นอีก 3 คณะ คือ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร และในปี พ.ศ. 2538 ได้จัดตั้งคณะเพิ่มอีก 1 คณะคือคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการจัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะที่ 17 ในปีพ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งอีกสามคณะคือ คณะการสื่อสารมวลชน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (เทียบเท่าคณะ) ล่าสุดปีพ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งคณะที่ 21 คือ คณะนิติศาสตร์ โดย การประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยของไทย สกอ ได้จัดให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในกลุ่ม ดีเลิศ ทั้งการเรียนการสอน และการวิจัย
ในปี พ.ศ. 2550 ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่าน สนช. และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐลำดับที่ 12

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ตราประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รูปช้างชูคบเพลิงมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” อยู่ในกรอบเส้นรอบวงด้านบนและคำว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507” อยู่ด้านล่างตรงกลาง ระหว่างข้อความทั้งสองนี้ มี “ดอกสัก” คั่นกลางปรากฏอยู่ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีความหมายดังนี้
  • ช้าง เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าสูงมากในภาคเหนือ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ
  • การก้าวย่างของช้าง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ไม่หยุดยั้ง
  • คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ
  • รัศมี 8 แฉก หมายถึง คณะทั้ง 8 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พุทธสุภาษิต “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน
  • ดอกสัก ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือ ดอกสักเป็นดอกไม้ขนาดเล็กและอยู่ในพวงใหญ่ มีสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีกลีบดอก 6 กลีบ